พันธุ์ยางพารา
จำหน่ายพันธุ์ยางพาราทุกสายพันธุ์ รับรองคุณภาพโดยศูนย์วิจัยพันธุ์ยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ขายยางพาราชำถุง
ถาม-ตอบ ปัญหายางพารา

ตอบปัญหาเรื่องยางพาราครับ
ปัญหาที่พบบ่อยๆและโทร.มาถามบ่อยที่ซู๊ดดดดด ได้แก่.....
1.กล้ายางมีราคาแพง!
ตอบ..ก็ให้วางมัดจำในราคาต้นละ 18 บาท ก็ไม่มีคนวางมัดจำนี่ครับ แล้วคนทำตายางขาย เขาจะเอาทุนที่ไหนมา ซื้อเม็ดยาง ซื้อถุงชำ ค่ากอกดินลงถุง เพื่อเตรียมไว้ขายให้ท่านๆทั้งหลายล่ะครับ อ้อ! แต่ก็มีพ่อค้าหัวใส และมีทุนครับ มาวางมัดจำล่วงหน้าเอาไว้ ในราคา 18 -20 บาทครับ แล้วเอามาขายให้มิตรรักแฟนพันธ์ยาง ในราคา ตั้งแต่ 25-45 บาท ซึ่งไปโทษเขาก็ไม่ได้ เพราะเขาทำการค้าเขาย่อมต้องหวังกำไรเป็นธรรมดาครับจ้าวนายยยยย...
2. อยากจองพันธ์ยางพารา แต่กลัว...!
กลัวโดนหลอก กลัวเสียเงินเปล่า กลัวได้ยางที่ไม่ตรงความต้องการ กลัวนั่น กลัวนี่ กลัวฉันกลัวไปเสียทุกสิ่ง กลัวฉันกลัวเธอจะทิ้งขว้าง ...กลัวอย่างที่เพลงร้อง แนะนำให้ขอดูใบอนุญาต หรือขอไปดูแปลงเพาะพันธ์ยางของเขาครับ ถ้ามีใบอนุญาตถูกต้องมีแปลงเพาะพันธ์ยางจริงๆ ก็เป็นอันว่าโอเค ครับ
3.ไม่มีความรู้เรื่องยางพาราเลย..จะทำไงดี!
-ถามผู้รู้ครับ อย่าอาย ถ้าอยากเป็นเศรษฐีสวนอยาง กรุณาอย่าอาย ขอร้องว่าอย่าอาย ไม่มีใครที่รอบรู้ไปทุกเรื่องหรอกครับ โทร.มาปรึกษากันได้ที่เบอร์นี้ครับ 083-545-5244 หรือทางอีเมล์ dj.chalin.p@hotmail.com หรือเข้ามาโพสคำถามได้ทีนี่ ครับ ตรวจกระทู้ทุกวัน http://yangpara600.blogspot.com/
แล้วอย่าลืมติดตามตอนต่อไปนะครับ..
แนวโน้มยางพารา
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553
การปลูกยางแบบชาวบ้าน
- สมัยโบราณคนแก่ๆเล่าว่า ไปจับจองที่ดินทำกินกัน ถางๆที่แล้วปลูกยางพาราให้รู้ว่าแถวๆนี้เราจองแล้ว บางคนปลูกยางไม่ทันเพื่อน ใช้วิธีเอาลูกยางทำลูกหนังสติ๊ก ขึ้นไปยืนบนที่สูงแล้วยิงลูกยางลงในที่ๆของตัวเองที่ถางไว้ ขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง คอยไปปลูกแซมเอาทีหลัง เท่านี้ก็ได้สวนยางพาราแล้ว
- สมัยนี้ไม่ค่อยมีการปลูกยางโดยใช้เม็ดยางปลูกโดยตรงแล้ว เพราะทำให้ไม่ทราบสายพันธุ์ที่แน่ชัด ควบคุมโรคยาก แล้วอนาคตไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าปลูกแล้วจะให้น้ำยางดีหรือเปล่า และที่สำคัญ เน้น..สำคัญมากๆ คือ ขืนปลูดยางเม็ดแบบโบราณๆปัญหาใหญ่ที่จะตามมาแน่ๆคือหาคนงานมากรีดให้ไม่ได้ ใครเขาจะมากรีดให้ครับ ในเมื่อสวนอื่นเขาให้น้ำยางมากกว่าทั้งที่ใช้เวลากรีดเท่ากัน ดังนั้นชาววสนส่วนใหญ่จึงหันมาปลูกยางติดตาพันธุ์ดีกันหมดแล้ว
- แต่ที่น่าตกใจมากๆคือปัจจุบัน มีบางคนที่ไม่รู้เรื่องยางเลย ได้นำเอาเม็ดยางมาเพาะแล้วไปเที่ยวประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านมาลองซื้อไปปลูก โดยขายแค่ต้นละ 5 บาท อันนี้อันตรายครับ อันตรายเพราะเม็ดยางที่ปลูกไม่ทราบสายพันธุ์ ชาวบ้านซื้อไปปลูกแล้วไม่โต แคะแกรน ทำให้เกิดการเข้าใจผิดคิดว่าที่ดินของตนเองไม่สามารถปลูกยางได้
- แต่ถ้ายืนยันจะปลูกจริงๆ ก็สามารถทำได้ครับ มีข้อแนะนำอย่างนี้ครับตัวอย่างเช่นเราซื้อมะม่วงมันพันธุ์เขียวเสวยมาทาน แล้วเอาเม็ดมาเพาะ จากนั้นนำไปปลูก ในสวน กับอีกด้านหนึ่งเราลองไปซื้อกิ่งมะม่วงที่เขาตอนขายมาลองปลูก พร้อมๆกันดูครับ ซึ่งแน่นอนล้านเปอเซ็นต์ว่ามะม่วงตอนต้องออกลูกก่อน ยางพาราก็เหมือนกันครับ.
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553
ยางพารา vs อ้อย
- คู่มวยหยุดโลก..
- ยางพารา ฉายา "นอนแน่ ลูกเจ้าแม่นอนนาน" ฝ่ายน้ำเงิน น้ำหนักชั่งเมื่อเช้า 50 กก.พบกับ "อ้อย ทำน้ำตาล" น้ำหนักชั่งเมื่อเช้า 50 กก.เท่ากันเป็นฝ่ายแดง ทั้งคู่ผ่านสังเวียนมาแล้วอย่างโชกโชนทั้งในและต่างประเทศ
- ฝ่ายน้ำเงินยางพาราเป็นมวยชั้นเชิง หมัดหนัก ฟลุคเวิคดี มีอาวุธหนักคือศอกกลับ ช่วงชกได้เปรียบคู่ต่อสู้เล็กน้อย ช่วงพักยกไม่ต้องให้น้ำก็ได้ ยืนระยะได้ยาว คร้งหลังสุดชนะคะแนน มันสปะหลัง ที่จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันเป็นแชมป์ส่งออกอันดับหนึ่งขอประเทศ
- ฝ่ายแดง อ้อยทำน้ำตาล ค่อนข้างอ้อนแอ้นเล็กน้อย เคยชกกับมันสำปะหลังมาแล้ว ชนะคะแนนที่อุบลราชธานี มีอาวุธหนักคือเข่าลอย เป็นมวยที่ต้องให้น้ำบ่อยๆ
- แก๊ง....ยกที่1 เริ่มขึ้น อ้อยทำน้ำตาล จดๆจ้องๆอยู่กลางเวที เพราะต้องรอให้เจ้าของที่ดินไถพรวนดินเสียก่อนจึงจะปลูกได้ผลดี ขณะที่ยางพาราเดินปรีเข้าหา โดยไม่สนใจเรื่องไถพรวนดิน ขอเพียงขุดหลุ่มให้ได้ขนาดก็พอ อ้อยทำน้ำตาลเตะตัดลำตัวของยางพารา ด้วยระยะเวลาแค่หนึ่งปีก็สามารถให้ผลผลิตที่รวดเร็วได้ ขณะที่ ยางพาราต้องรอเวลาถึง 7 ปี ซึ่งทำให้ยางพาราเพลี้ยงพร้ำแบบเห็นๆ แต่ยางพาราเอาคืนด้วยการที่สามารถปลูกพืชอื่นๆแซมในรองยางได้นานถึง 3 ปี หมดยกที่1 ทั้งคู่ยังเสมอกันอยู่.
- แก๊ง...ยกที่ 2 เริ่มขึ้น...อ้อยตาลหวานลิ้น ยังคงเดินหน้าเข้าหา ยางพารา เหมือนเคย คราวนี้ซัดเปรี้ยงด้วยหมัด มีโรงงานน้ำตาลรับซื้อ ในราคาประกัน เล่นเอายางพาราเซไปนิดหนึ่ง แต่ยางพาราตอบโต้ด้วยหมัดเด็ดคือ ยางพาราไม่ต้องรอโรงงานมารับซื้อ ชาวบ้านทำแผ่นขายให้พ่อค้าคนกลางได้เลย
- อ้อยตาลหวานลิ้นดีดเท้าเปรี้ยงเข้าปลายคางยางพารา ด้วยลูกถีบเรื่องผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด ยางพาราเอี้ยวตัวหลบ แล้วตอบโต้ด้วยเรื่องการผูกขาดโควต้า และมีกลุ่มโรงงานไม่กี่กลุ่มที่ผูกขาด ทำให้อ้อยถูกกดราคา ต่างกับยางพารา ที่ใช้วิธีการขายด้วยระบบการประมูล และพ่อค้าคนกลางไม่ต้องลงทุนทำโรงงานใหญ่โตก็มามารถเข้ามาแข่งขันประกวดราคาจัดซื้อยางพารา เพื่อไปขายต่อให้กลุ่มโรงงานได้ หรือปัจจุบัณโรงงานต่างๆที่ต้องใช้วัสดุจากยางพาราบางรายก็ได้เข้าร่วมในการประมูลราคายางพาราบ้างแล้ว ทำให้ผู้ปลูกยางพาราได้รับประโยชน์ไปแบบเต็มๆ แก๊งหมดยกที2 คะแนนยางพาราขึ้นนำนิหน่อย..
- แก๊ง..ยกที่3 เริ่มขึ้น..ยางพาราเดินปรี่เข้าหาอ้อยตาลหวานลิ้น แล้วแย็บหม้ดซ้าย เรื่องรายได้ต่อปีต่อไร่เข้าใบหน้าของอ้อยโรงงาน อ้อยโรงงานถึงกับผงะ..โอโฮ้..อ้อยตาลหวานลิ้นมีรายได้ปีละครั้งครับ ท่านผู้ชม แต่ยางพารา มีรายได้ทุกวัน นับตั้งแต่วันที่กรีดยางได้ อื้อฮือ...หวาดเสียวครับ คะแนนชักเทไปทางยางพาราแล้วครับ อ้าว หมดยกที่3 ครับ
- แก๊ง...ยกที่4 เริ่มขึ้น ..ยางพาราออกจากมุมโดยไม่ได้ให้น้ำครับ เนื่องจากฝนไม่ตก ขณะที่มุมแดงของอ้อยทำน้ำตาลฝนก็ไม่ตกครับ อ้าว อ้อยโรงงานเริ่มโผเผครับ พี่เลี้ยงทำยังไงครับ ส่งสัญญาณให้พิงเชือกครับ โอโฮ้..แก้ปัญหายังไงครับพี่เลี้ยง เอาล่ะตามช่างมาตอกบ่อบาดาลครับท่าผู้ชม อ้าวต้องขออนุญาตตอกบ่อบาดาลด้วยนะครับ ขณะที่ยางพารายังแข็งแรงเพราะหยั่งรากลงลึกกว่าอ้อยครับ ยางพารากระแทกหมัดตรงเรื่องระยะเวลาของการเก็บเกี่ยวผลผลิตเข้าปลายครางอ้อยโรงงานจังๆครับ แก๊ง..แหม..หมดยกที่4
- แก๊ง..ยกที่ 5 ยกสุดท้ายเริ่มขึ้น..อ้อยโรงงานได้น้ำจากบ่อบาดาลกระปี้กระเป่าขึ้นมาเป็นกอง ส่วนยางพาราไม่ได้ให้น้ำเหมือนยกที่ 4 แต่ยังดูสดชื่นเนื่องจากร่มเงาของยางพารา ช่วยอุ้มน้ำไว้ได้นานนั่นเอง อ้อยโรงงานทักทายด้วยลูกเตะเข้าชายโครงยางพารา ด้วยเรื่องให้ผลผลิตทุกปี ปลูกครั้งหนึ่งอยู่ได้ถึงสามปี ยางพาราพยักหน้ารับเหมือนจะบอกบอกว่าไม่เป็นไร คนปลูกอ้อยต้องลงมือปลูกใหม่ทุกๆ 3 ปี ส่วนยางพาราปลูกปีเดียวอยู่ได้นาน 40-50 ปี อ้อยเดินวนเข้าหายางพาราทางด้านซ้าย แย็บด้วยหมัดน้ำตาลที่ใครๆก็ต้องกิน ยางพาราสวนกลับด้วยไม้ตายคือ วาระสุดท้าย ของยางพาราเมื่อโค่นขายต้นยางพารามีเงินก้อนเก็บเป็นบำเหน็ดขณะที่ปลูกทดแทนแปลงใหม่สามารถขอทุนได้ที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และพอยางกรีดได้ก็เหมือนได้บำนาญอีกต่อๆไป..แก๊งหมดยกสุดท้าย....รอคะแนนจากคณะการการสักครู่ครับ..
- พักโฆษณา...ชาวสวนเงาะสวนทุเรียน ถึงฤดูเงาะ-ทุเรียน เขาซื้อเงาะกินโลละ3-5 บาท ชาวสวนลำใย ถึงฤดูลำใย เขาซื้อกินลำใยกินโลละ3-5 บาท ชาวไร่อ้อย ถึงฤดูตัดอ้อย..กรุณาไปเข้าคิวซื้อน้ำตาล ที่ห้าง...(เซนเซอร์)............ครับ. อ้อ! ให้ครอบครัวละไม่เกิน 3 กก.ครับผม..
วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553
มีที่ดิน..อยากปลูกยางพาราแต่ไม่มีทุน

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
ผลิตผลจากยางพารา
- ใบยางพารา นำมาแช่น้ำแล้วใช้แปรงสีฟันปัดเอาเนื้อเยื่อของใบออก ให้เหลือแต่ก้านใยของใบ จากนั้นนำไปย้อมสี ตามต้องการ จากนั้นนำไปประดิษฐ์เป็นดอกไม้ประดับได้สวยงามไม่แพ้วัสดุอื่นๆครับ
การกรีดยางพารา
- ยาง 1 ต้น แบ่งกรีดได้สองส่วนๆละครึ่งต้นแบ่งระยะตามเส้นผ่าศูนย์กลางครับ กรีดสูงจากพื้นประมาณ 1.50 เมตร เรียกว่ายางหน้า 1 ต้องหาคนกรีดที่มีฝีมือมากๆ การกรีดต้องไม่ให้คมมีดกรีดโดนเนื้อของลำต้น เพราะจะทำให้ผิวของลำต้นอักเสบทำให้เปลือกของลำต้นที่ขึ้นมาหลังการกรีดมีรอยตะปุ่ม ส่งผลถึงเปลือกต้นยางในอนาคตหรือ ยางหน้า 2 ไม่สวยครับ
- ยาง 1 ต้น ใช้เวลา 7 ปีจึงจะกรีดได้ ความใหญ่ของลำต้น ขึ้นอยู่กับการบำรุงและสายพันธุ์ครับ ที่มีผู้รู้บอกว่าขนาดลำต้นต้องเท่านั้นเท่านี้ ถ้าท่านปลูกแล้วปล่อยตามเวรตามกรรม บางที 7ปี ต้นเท่าแขนก็มี โปรดจำไว้ว่าไม่มีพืชชนิดใดในโลกที่ปลูกพันต้นได้ผลดีทั้งพันต้นหรอกครับ มันต้องมีสมบูรณ์มีแคระแกรนมีเจ็บป่วยปะปนกันไป ต้นไหนตายก็ปลูกชดเชยขึ้นมาใหม่ ต้นไหนสมบูรณ์ดีแล้วก็ต้องดูแลให้ดีที่สุด เพราะยาง 1 ต้น เขาจะอยู่กับเรา 40-50 ปี บางคนปลูกยางตั้งแต่เมียเริ่มท้อง ยางกรีดได้ตอนลูก 7 ขวบ กรีดกินไปจนลูกจบปริญญา ต่อด้วยหลานอีกคนก็ยังไม่ยอมโค่นต้นยาง เนื่องจากราคายางแผ่นราคาดีนั่นเอง แต่..พี่สาวของผู้เขียนพอรู้ตัวว่าเริ่มแก่ตัวทั้งคนทั้งยาง เลยรีบโค่นยางแล้วปลูกใหม่เพื่อจะได้โตทันกรีดอีกรอบหนึ่ง.
ปัญหาเรื่องการปลูกยางพารา
วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553
การปลูกพืชแซมยาง
- การปลูกพืชแซมยางสามารถทำได้จ้ะ..โดยเราสารมารถปลูกพืชแซมในสวนยางได้ตั้งแต่แรกปลูกยางไปจนถึงสามปี โดยให้เว้นแถวยางห่างไว้ข้างละ 50 ซม.ฉะนั้นใน 1แถวยางควรเว้นไว้ 1 เมตร ต้นยางอยู่ตรงกลางนะจ้ะ พืชที่นิยมปลูก คือสัปรด มันสำปะหลังฯลฯ
- แถวๆบ้านของผู้เขียน(ตราด)มักใช้วิธีดังต่อไปนี้ในการปลูกพืชแซมยางแบบประหยัดครับ
- สมมติว่า มาดีจะปลูกยางพารา50ไร่ แต่ทุนมีแบบจำกัด มาดี ไปหาชูใจบอกให้ไปปลูกสัปรดในสวนยางของมาดีแบบฟรีๆ แต่มีข้อตกลงว่าตลอดสามปี ชูใจต้องดูแลต้นยางพาราให้มาดี ด้วยการใส่ปุ๋ยตามเกณท์ กำจัดวัชพืชในสวนยางไม่ให้ขึ้นมาแย่งปุ๋ยยางพารา ชูใจดีใจเพราะได้ปลูกสัปรดในที่ดินของมาดีแบบฟรีๆ และหรือ
พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกยางพารา
- พื้นที่ ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกยางพารา
- จะเป็นพื้นที่ชนิดใดก็ได้ ที่น้ำไม่ท่วม หรือถ้าน้ำท่วมถึงต้องไม่นานเกิน 15-30 วัน
- พื้นที่เชิงเขาก็ปลูกได้จ้ะ
- วิธีการปลูก ขุดหลุ่มขนาด กว้าง 1 ศอก(40 ซม.)ยาว 1ศอก ลึก 1ศอก
- ใส่ปุ๋ยก้นหลุม (ดูสภาพดิน+จำนวนปุ๋ยก้นหลุมที่ต้องใส่ ใส่มากเค็มมาก=ตาย ใส่น้อยปุ๋ยไม่พอกินยางโตไมดีนะครับ) ใส่ปุ๋ยก้นหลุมแล้ว ใส่ดินทับปุ๋ยประมาณหนาประมาณ 1 นิ้ว กันยางลำลักปุ๋ยตายน่ะ จากนั้นนำกล้ายางพาราที่เตรียมไว้ลงปลูกในหลุม เหยียบดินรอบๆต้นให้แน่นพอประมาณ
- ถ้าสถาพอากาศร้อนมาก ให้ทำร่มโดยนำทางมะพร้าว หรือ แสลน ปักเสาให้สูงจากต้นยางพอประมาณ หันลาดเอียงทำมุมกับแสงแดด.
ข้อดี-ข้อเสีย ของการปลูกยางพารา
ประโยชน์ของการปลูกยางพารา ทำให้ดินอุ้มน้ำ ลดภาวะความแห้งแล้งในดินครับ และช่วยกระตุ้นเศรษกิจ เนื่องจากยางพาราเป็นพืชเศรษกิจที่ทั่วโลกต้องการมากที่สุดครับ... ...แต่..เชื่อไหมว่าประชาชนคนไทยมักกลัวการปลูกยางพารามากที่สุด กลัว..ปลูกแล้วไม่ขึ้น ขึ้นแล้วไม่โต โตแล้วกรีดน้ำยางไม่ได้ กรีดได้ แต่กรีดยางไม่เป็น ใครจะสอน ทำยางแผ่นทำอย่างไร การดูแลลำต้นจะทำอย่างไร
- ทั้งหมดนี้คือปัญหาที่ทำให้เกษตรกรไม่กล้าปลูกยางพารา
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
ลักษณะของพันธุ์ยางที่ดี
ลักษณะพันธุ์ยางทีดี คือต้องให้ผลผลิตสูง ทนต่อสภาพอากาสในพื้นที่ที่เพราะปลูก และทนต่อโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยส่วนตัวของผู้เขียนส่วนใหญ่จะแนะนำให้เกษตรกรปลูกพันธุ์ RRIM 600 ครับ เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยแล้วว่าให้ปริมาณน้ำยางค่อนข้างสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง เช่น กาญจนบุรี ฯลฯ เพราะว่าพันธุ์ RRIM 600(ต่อไปจะเรียกพันธุ์600นะครับ) ไม่ค่อยชอบฝนเท่าไรนัก ถ้าเป็นภาคตะวันออก แถวตราด จันทบุรี จะไม่นิยมปลูกพันธุ์600 ทั้งที่อยากปลูกเพราะให้น้ำยางในปริมาณค่อนข้างสูง แต่ปัญหาคือพันธุ์600 กลัวฝน แต่กลับเป็นโอกาสอันดีแก่เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งครับ ข้อคิด ถ้าคิดจะปลูกยางพารา ต้องศึกษาเรื่องสายพันธุ์นิกนึ่งครับ โทรปรึกษาได้ครับ 0835455244
พันธ์ยางพารา
- จำหน่ายกล้ายางพาราทุกสายพันธ์
- รับสั่งทำกล้ายางพารา บริการติดตายาง สอนกรีดยาง สอนการทำแผ่นยาง
- แนะแนวในการปลูกกล้ายางด้วยตัวเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)