ยางพารา vs อ้อย
- คู่มวยหยุดโลก..
- ยางพารา ฉายา "นอนแน่ ลูกเจ้าแม่นอนนาน" ฝ่ายน้ำเงิน น้ำหนักชั่งเมื่อเช้า 50 กก.พบกับ "อ้อย ทำน้ำตาล" น้ำหนักชั่งเมื่อเช้า 50 กก.เท่ากันเป็นฝ่ายแดง ทั้งคู่ผ่านสังเวียนมาแล้วอย่างโชกโชนทั้งในและต่างประเทศ
- ฝ่ายน้ำเงินยางพาราเป็นมวยชั้นเชิง หมัดหนัก ฟลุคเวิคดี มีอาวุธหนักคือศอกกลับ ช่วงชกได้เปรียบคู่ต่อสู้เล็กน้อย ช่วงพักยกไม่ต้องให้น้ำก็ได้ ยืนระยะได้ยาว คร้งหลังสุดชนะคะแนน มันสปะหลัง ที่จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันเป็นแชมป์ส่งออกอันดับหนึ่งขอประเทศ
- ฝ่ายแดง อ้อยทำน้ำตาล ค่อนข้างอ้อนแอ้นเล็กน้อย เคยชกกับมันสำปะหลังมาแล้ว ชนะคะแนนที่อุบลราชธานี มีอาวุธหนักคือเข่าลอย เป็นมวยที่ต้องให้น้ำบ่อยๆ
- แก๊ง....ยกที่1 เริ่มขึ้น อ้อยทำน้ำตาล จดๆจ้องๆอยู่กลางเวที เพราะต้องรอให้เจ้าของที่ดินไถพรวนดินเสียก่อนจึงจะปลูกได้ผลดี ขณะที่ยางพาราเดินปรีเข้าหา โดยไม่สนใจเรื่องไถพรวนดิน ขอเพียงขุดหลุ่มให้ได้ขนาดก็พอ อ้อยทำน้ำตาลเตะตัดลำตัวของยางพารา ด้วยระยะเวลาแค่หนึ่งปีก็สามารถให้ผลผลิตที่รวดเร็วได้ ขณะที่ ยางพาราต้องรอเวลาถึง 7 ปี ซึ่งทำให้ยางพาราเพลี้ยงพร้ำแบบเห็นๆ แต่ยางพาราเอาคืนด้วยการที่สามารถปลูกพืชอื่นๆแซมในรองยางได้นานถึง 3 ปี หมดยกที่1 ทั้งคู่ยังเสมอกันอยู่.
- แก๊ง...ยกที่ 2 เริ่มขึ้น...อ้อยตาลหวานลิ้น ยังคงเดินหน้าเข้าหา ยางพารา เหมือนเคย คราวนี้ซัดเปรี้ยงด้วยหมัด มีโรงงานน้ำตาลรับซื้อ ในราคาประกัน เล่นเอายางพาราเซไปนิดหนึ่ง แต่ยางพาราตอบโต้ด้วยหมัดเด็ดคือ ยางพาราไม่ต้องรอโรงงานมารับซื้อ ชาวบ้านทำแผ่นขายให้พ่อค้าคนกลางได้เลย
- อ้อยตาลหวานลิ้นดีดเท้าเปรี้ยงเข้าปลายคางยางพารา ด้วยลูกถีบเรื่องผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด ยางพาราเอี้ยวตัวหลบ แล้วตอบโต้ด้วยเรื่องการผูกขาดโควต้า และมีกลุ่มโรงงานไม่กี่กลุ่มที่ผูกขาด ทำให้อ้อยถูกกดราคา ต่างกับยางพารา ที่ใช้วิธีการขายด้วยระบบการประมูล และพ่อค้าคนกลางไม่ต้องลงทุนทำโรงงานใหญ่โตก็มามารถเข้ามาแข่งขันประกวดราคาจัดซื้อยางพารา เพื่อไปขายต่อให้กลุ่มโรงงานได้ หรือปัจจุบัณโรงงานต่างๆที่ต้องใช้วัสดุจากยางพาราบางรายก็ได้เข้าร่วมในการประมูลราคายางพาราบ้างแล้ว ทำให้ผู้ปลูกยางพาราได้รับประโยชน์ไปแบบเต็มๆ แก๊งหมดยกที2 คะแนนยางพาราขึ้นนำนิหน่อย..
- แก๊ง..ยกที่3 เริ่มขึ้น..ยางพาราเดินปรี่เข้าหาอ้อยตาลหวานลิ้น แล้วแย็บหม้ดซ้าย เรื่องรายได้ต่อปีต่อไร่เข้าใบหน้าของอ้อยโรงงาน อ้อยโรงงานถึงกับผงะ..โอโฮ้..อ้อยตาลหวานลิ้นมีรายได้ปีละครั้งครับ ท่านผู้ชม แต่ยางพารา มีรายได้ทุกวัน นับตั้งแต่วันที่กรีดยางได้ อื้อฮือ...หวาดเสียวครับ คะแนนชักเทไปทางยางพาราแล้วครับ อ้าว หมดยกที่3 ครับ
- แก๊ง...ยกที่4 เริ่มขึ้น ..ยางพาราออกจากมุมโดยไม่ได้ให้น้ำครับ เนื่องจากฝนไม่ตก ขณะที่มุมแดงของอ้อยทำน้ำตาลฝนก็ไม่ตกครับ อ้าว อ้อยโรงงานเริ่มโผเผครับ พี่เลี้ยงทำยังไงครับ ส่งสัญญาณให้พิงเชือกครับ โอโฮ้..แก้ปัญหายังไงครับพี่เลี้ยง เอาล่ะตามช่างมาตอกบ่อบาดาลครับท่าผู้ชม อ้าวต้องขออนุญาตตอกบ่อบาดาลด้วยนะครับ ขณะที่ยางพารายังแข็งแรงเพราะหยั่งรากลงลึกกว่าอ้อยครับ ยางพารากระแทกหมัดตรงเรื่องระยะเวลาของการเก็บเกี่ยวผลผลิตเข้าปลายครางอ้อยโรงงานจังๆครับ แก๊ง..แหม..หมดยกที่4
- แก๊ง..ยกที่ 5 ยกสุดท้ายเริ่มขึ้น..อ้อยโรงงานได้น้ำจากบ่อบาดาลกระปี้กระเป่าขึ้นมาเป็นกอง ส่วนยางพาราไม่ได้ให้น้ำเหมือนยกที่ 4 แต่ยังดูสดชื่นเนื่องจากร่มเงาของยางพารา ช่วยอุ้มน้ำไว้ได้นานนั่นเอง อ้อยโรงงานทักทายด้วยลูกเตะเข้าชายโครงยางพารา ด้วยเรื่องให้ผลผลิตทุกปี ปลูกครั้งหนึ่งอยู่ได้ถึงสามปี ยางพาราพยักหน้ารับเหมือนจะบอกบอกว่าไม่เป็นไร คนปลูกอ้อยต้องลงมือปลูกใหม่ทุกๆ 3 ปี ส่วนยางพาราปลูกปีเดียวอยู่ได้นาน 40-50 ปี อ้อยเดินวนเข้าหายางพาราทางด้านซ้าย แย็บด้วยหมัดน้ำตาลที่ใครๆก็ต้องกิน ยางพาราสวนกลับด้วยไม้ตายคือ วาระสุดท้าย ของยางพาราเมื่อโค่นขายต้นยางพารามีเงินก้อนเก็บเป็นบำเหน็ดขณะที่ปลูกทดแทนแปลงใหม่สามารถขอทุนได้ที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และพอยางกรีดได้ก็เหมือนได้บำนาญอีกต่อๆไป..แก๊งหมดยกสุดท้าย....รอคะแนนจากคณะการการสักครู่ครับ..
- พักโฆษณา...ชาวสวนเงาะสวนทุเรียน ถึงฤดูเงาะ-ทุเรียน เขาซื้อเงาะกินโลละ3-5 บาท ชาวสวนลำใย ถึงฤดูลำใย เขาซื้อกินลำใยกินโลละ3-5 บาท ชาวไร่อ้อย ถึงฤดูตัดอ้อย..กรุณาไปเข้าคิวซื้อน้ำตาล ที่ห้าง...(เซนเซอร์)............ครับ. อ้อ! ให้ครอบครัวละไม่เกิน 3 กก.ครับผม..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น